ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

Jingle Bells Lyrics

  กิจกรรมบำบัดในเด็กตาบอด                      เด็กตาบอดมีความจำเป็นต้องได้รับการฝึกประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่  ได้แก่  การสัมผัส     การได้ยิน  การดมกลิ่น  การชิมรส  ทดแทนการมองเห็นที่สูญเสียไป  ควรได้รับการฝึกใช้อวัยวะ     ส่วนอื่น  เช่น  มือ หู  ในการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน    และการเรียนรู้ทักษะวิชาการต่อไป   วิธีการฝึกใช้ประสาทสัมผัส  มีดังนี้                       การสัมผัส   เด็กตาบอดจะต้องได้รับการฝึกประสาทสัมผัสที่ปลายนิ้วมากกว่าเด็กพิการ    ประเภทอื่น   เพื่อใช้ปลายนิ้วในการสัมผัสตัวอักษรเบรลล์  ในการอ่านและเขียน เด็กตาบอดต้อง    เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว  โดยการสัมผัสจับต้อง      เพื่อเรียนรู้ลักษณะและน้ำหนักของสิ่งของ    ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน   เช่น    การสัมผัสแล้วรู้ว่าร้อน    ยกสิ่งของแล้วหนักต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น                       การได้ยิน         เด็กตาบอดควรได้รับการฝึกฟังเสียงต่างๆในชีวิตประจำวัน รู้แหล่งที่มา    ของเสียง   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเด็กตาบอดในการเคลื่อนไห

พัฒนาการเพื่อลูกเติบโตดี

บันทึก 5 พัฒนาการเพื่อลูกเติบโตดี        “จากการควบคุมศีรษะ สู่การพลิกตัวและคืบ การนั่ง การคลาน และการก้าวเดิน” การควบคุมศีรษะ...เมื่อเจ้าหนูชันคอดูสิ่งรอบข้าง         เมื่อวัยแรกเกิดลูกน้อยจะคออ่อนมาก แต่จะเริ่มชันคอได้เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงวัย 1-2 เดือน แล้วจะยกศีรษะขึ้นตั้งทํามุม 45 องศาได้แม้จะอยู่ในท่าคว่ำ ส่วนปลายเดือนที่ 6 ลูกจะเริ่มชันคอได้ดี หันไปดูสิ่งต่างๆ ได้ถนัดขึ้น เพราะควบคุมกล้ามเนื้อคอได้อย่างสมบูรณ์   การพลิกตัวและคืบ...เมื่อหนูอยากไปข้างหน้า         เมื่อลูกถึงวัย 3 เดือน จะชูศีรษะและไหล่ขึ้นได้ โดยใช้แขนวางค้ำยันพื้น เมื่อเข้าสู่วัย 5 เดือน จะยกศีรษะขึ้น-ลง โดยงอแขนยันพื้นช่วย แล้วทําท่ายงโย่ ยงหยกเคลื่อนที่ไปมา พอวัย 6 เดือน ลูกก็จะพลิกตัว และคืบเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้แล้ว   การนั่ง....เมื่อหนูอยากเห็นให้สูงขึ้นอีกนิด         ลูกเริ่มนั่งพิงได้บ้างเมื่อกล้ามเนื้อคอและศีรษะแข็งแรงพอ โดยเริ่มแสดงให้เห็นเมื่ออายุ 4 เดือน พอวัย 5 เดือนจะเริ่มนั่งด้วยตัวเองได้ชั่วครู่ เมื่อเข้าสู่วัย 7 เดือนจะนั่งได้เอง แล้วใช้มือสํารวจของที่เอื้อมถึง แล้วเรื่องการนั่งก

สมาธิดี พ่อแม่ฝึกลูกได้

สมาธิดี พ่อแม่ฝึกลูกได้ ก่อนการเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้นสมองต้องเกิดสมาธิก่อนค่ะ แต่ในปัจจุบันสิ่งเร้าต่างๆ เกิดขึ้นกับลูกมากจนเหมือนกับว่าเด็กสมัยนี้มีสมาธิจดจ่อสั้นไปหมด ขณะที่การเรียนรู้ที่ดีต้องการเด็กมีสมาธิ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ต้องหาแนวทางในการสร้างสมาธิให้กับลูกค่ะ สมาธิกับการทำงานของสมอง   ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับพ่อแม่ว่า สมาธิในเด็กไม่ใช่ Meditation (เข้าฌาน) แต่หมายถึง Better Attention หรือ มีความสนใจ ความจดจ่อ และความมุ่งมั่นให้อยู่กับเรื่องๆ เดียว ตามระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งการที่เด็กมรสมาธิจดจ่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น ก็จะส่งผลให้เด็กมีการเรียนรู้ที่ดี และมีประสิทธิภาพด้วยค่ะ ที่ผ่านมามีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าสมาธิมีความสัมพันธ์กับสมอง เพราะเวลาเด็กนิ่ง ( Focus) เป็นเวลานานระยะหนึ่ง ( Sustain) สมองส่วนเซเรบรัม ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมดูแลการทำงาน เช่น ความจำ การแสดงออก การมองเห็น วิสัยทัศน์ การมีเหตุมีผล และอารมณ์ความรู้สึกเกิดคลื่นสมองอันหนึ่งที่ทำงานได้ดี ชื่อว่า “อัลฟา” (Alpha) ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่าย และเกิ

ศิลปะสื่อการเรียนรู้

                                                  การใช้ศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้      ศิลปะ เป็นกิจกรรมของการแสดงออกความรู้ ความคิด และจินตนาการ ซึ่งสามารถนำลักษณะของความงาม และการได้ระบายออกทางอารมณ์มาเป็นสื่อการเรียนรู้ ที่สร้างให้เกิดความจำและความเข้าใจดียิ่งขึ้น การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นภารกิจของครู และผู้ปกครองที่สำคัญยิ่งเพราะวัย 6 ขวบแรกมีพัฒนาแต่ละด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมองจะมีพัฒนาการกว่าร้อยละ 90 ของวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้นหากเด็กได้รับการสร้างเสริมที่ถูกต้อง ย่อมเป็นการช่วยให้พัฒนาการด้านรวมทั้งสติปัญญาเป็นไปอย่างเต็มศักยภาพ นักการศึกษาปฐมวัยได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยให้การเรียนการสอน เป็นตัวสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยวัยของเด็กและพัฒนาการจะพบว่า ศิลปะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย วิธีการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการซึมซับประสบการณ์และรับไว้จนเกิดเป็นข้อความรู้ พิอาเจท์ (Piaget) เช

Incy Wincy Spider

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

             ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย         เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้ ทักษะการสังเกต              การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไ

ABC song www.tiptaptop.com

เด็กกับการอ่าน

เด็กกับการอ่าน   พับลิชเชอส์วีคลี รายงาน ผลวิจัยเรื่องการอ่านของเด็กและครอบครัว โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักพิมพ์สกอแลสติค สำรวจการอ่านเพื่อความบันเทิงของเด็กอเมริกันวัย 5-17 ปี พบว่าเด็กร้อยละ 92 สนุกกับการอ่านหนังสือเพื่อความบันเทิง (นั่นคือไม่นับพวกหนังสือเรียน) แต่เด็กจะอ่านน้อยลงมากเมื่ออายุเกิน 8 ปี และยิ่งอายุมากขึ้นสู่วัยรุ่นเท่าใด ก็ยิ่งอ่านน้อยลงเท่านั้น โดยรวมแล้วเด็กร้อยละ 30 อ่านหนังสือเป็นประจำ เด็กวัย 5-8 ปีร้อยละ 44 อ่านหนังสือเป็นประจำ แต่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-17 ปีนั้น มีเพียงร้อยละ 16 ที่อ่านหนังสือเป็นประจำ ส่วนร้อยละ 46 อ่านนานๆ ครั้ง (เป็นประจำคืออ่านทุกวัน นานๆ ครั้งคืออ่านเดือนละไม่เกิน 2-3 ครั้ง) ผลการศึกษาพบว่าที่อัตราการอ่านลดลงมากเมื่อวัยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ปกครองไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดี มีพ่อแม่เพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่อ่านหนังสือเป็นประจำ ลูกของพ่อแม่ที่อ่านหนังสือเป็นประจำจะชอบอ่านหนังสือเป็นประจำ (คิดเป็นร้อยละ 53) เมื่อเทียบกับลูกของพ่อแม่ที่อ่านนานๆ ครั้ง มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่จะอ่านหนังสือเป็นประจำ สำนักพิมพ์แนะนำว่าถึงพ่อแม่จะไม่ค่อยอ่