ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
 กิจกรรมบำบัดในเด็กตาบอด

                     เด็กตาบอดมีความจำเป็นต้องได้รับการฝึกประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่  ได้แก่  การสัมผัส
    การได้ยิน  การดมกลิ่น  การชิมรส  ทดแทนการมองเห็นที่สูญเสียไป  ควรได้รับการฝึกใช้อวัยวะ
    ส่วนอื่น  เช่น  มือ หู  ในการรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน
   และการเรียนรู้ทักษะวิชาการต่อไป   วิธีการฝึกใช้ประสาทสัมผัส  มีดังนี้
                    การสัมผัส
  เด็กตาบอดจะต้องได้รับการฝึกประสาทสัมผัสที่ปลายนิ้วมากกว่าเด็กพิการ
   ประเภทอื่น   เพื่อใช้ปลายนิ้วในการสัมผัสตัวอักษรเบรลล์  ในการอ่านและเขียน เด็กตาบอดต้อง
   เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว  โดยการสัมผัสจับต้อง      เพื่อเรียนรู้ลักษณะและน้ำหนักของสิ่งของ
   ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน   เช่น    การสัมผัสแล้วรู้ว่าร้อน
   ยกสิ่งของแล้วหนักต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                    การได้ยิน
        เด็กตาบอดควรได้รับการฝึกฟังเสียงต่างๆในชีวิตประจำวัน รู้แหล่งที่มา
   ของเสียง   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเด็กตาบอดในการเคลื่อนไหวไปในที่ต่างๆ    โดยการเรียนรู้เสียง
   ของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว ทำให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง
                    การดมกลิ่น
 เป็นการเตรียมความเด็กตาบอดให้รู้จักใช้จมูกดมกลิ่น   เพื่อใช้ประโยชน์
   ในการดำรงชีวิตประจำวันและเพื่อหลบหลีกอันตรายต่างๆ  จากการได้สัญญาณเตือนภัยจาก
   การได้กลิ่น  เช่น  กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นไฟไหม้   ควรใช้การดมกลิ่นเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้
   ลิ้นลิ้มรสด้วย  เช่น ไม่ชิมของที่มีกลิ่นบูดเน่า ไม่ควรดมสิ่งต่างๆ ชิดจมูกเพราะอาจเป็นอันตราย
   ต่อร่างกายได้   เช่น   การดมสารเคมีต่างๆ
                    การชิมรส
       เป็นการฝึกให้เด็กตาบอดเกิดความเข้าใจในรสชาติของสิ่งต่างๆใน
   ชีวิตประจำวัน  ได้แก่   เปรี้ยว  หวาน   เค็ม   ขม   ว่าสิ่งไหนกินได้และสิ่งไหนกินไม่ได้ ทำให้
   สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากการกินอาหารได้
                   
 นอกจากนี้  นักกิจกรรมบำบัดจะให้การกระตุ้นพัฒนาการแก่เด็กตาบอด    โดยอาศัย
   หลักการของการผสมผสานการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Integration)    เพื่อกระตุ้นระบบ
   ประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่ ชดเชยการรับรู้ทางสายตาที่สูญเสียไป     โดยใช้กิจกรรมกระตุ้น
   ระบบประสาท 3 ระบบพื้นฐาน   ดังนี้

                    1. การกระตุ้นระบบประสาททรงตัวและการเคลื่อนไหว ( Vestibular )  
  ได้แก่    การ
    ทรงตัวการทรงท่า การเคลื่อนไหวแบบราบเรียบและในทิศทางต่างๆ  เช่น  กิจกรรมการกระโดด
    แทมโพลีน การโยกบอล  การนั่งชิงช้า  การกลิ้งตัว   เพื่อเด็กตาบอดสามารถนำไปใช้กับทักษะ
    การเคลื่อนไหวและคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม( Orientation and Mobility :O&M ) ต่อไป
                     2. การกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส (Tactile)
   ได้แก่   การกระตุ้นระบบการรับรู้ทาง
    การสัมผัสต่างๆ ประกอบด้วยการกด   การเจ็บปวด   การรับรู้อุณหภูมิ ร้อน – เย็น  เช่น   กิจกรรม
    อ่างบอล    การสัมผัสพื้นผิวต่างๆ การกลิ้งตัวบนพรม เป็นต้น
                    3. การกระตุ้นระบบประสาทกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive)
      ได้แก่  
    การกระตุ้นการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ  เอ็นและข้อต่อต่างๆ  จะส่งผลถึงการเคลื่อนไหว
    สหสัมพันธ์     ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ราบเรียบ มีประสิทธิภาพ  เช่น   การให้ทำกิจกรรม
    การยกของหนัก  การลาก  ดึง   ผลัก  ของที่มีน้ำหนักมาก การโหน การปีนป่าย การกระโดด
    เป็นต้น
                   
 ควรส่งเสริมให้เด็กตาบอดช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน(ADL)
   โดยคำนึงถึงระดับความสามารถและความจำเป็นของเด็กตาบอดแต่ละคน การเลือกวัสดุอุปกรณ์
   เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก     รวมไปถึงการปรับสภาพสิ่งแวดล้อม    การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก
   ที่อยู่อาศัยไม่ควรมีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนไหว   ควรมีขอบเขตที่แน่นอนเพื่อสร้างความไว้วางใจ
   แก่เด็ก
                   
 ดังนั้น  การดูแลช่วยเหลือเด็กตาบอด  บุคคลในครอบครัวควรเข้าใจในสภาพความพิการ
   ของเด็กตาบอดและให้การช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น        เพื่อฝึกให้เด็กตาบอดได้มีโอกาสแสดง
   ความสามารถและช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน       จะช่วยให้เด็กตาบอดมี
   ความรู้สึกเป็นอิสระ  เป็นตัวของตัวเองมีความภาคภูมิใจในตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม
   ได้อย่างเป็นสุข





 เรียบเรียงโดย สุภาพร   กะแก้ว                                                                           เอกสารอ้างอิง              วิชิตา เกศะรักษ์. เทคนิคและวิธีการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดแก่เด็กตาบอด.
                          
วารสารกิจกรรมบำบัด. ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2546. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2.
               
คณาจารย์. เอกสารการสอนชุดวิชา การดูแลบุคคลพิการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
              สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. 2544.
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพลง รักแม่จังเลย sub.Eng-中文

ทักษะการอ่านการเขียนในเด็กปฐมวัย

เด็กๆ เรียนรู้อะไรในศูนย์เด็ก/โรงเรียน                 สำหรับพ่อแม่อาจจะมีจุดมุ่งหมายทางวิชาการ อยากให้เด็กอ่านออก เขียนได้ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็น เป็นคนดีของสังคม ชื่นชมกับงานศิลปะ และใช้เทคโนโลยีเป็น ศูนย์เด็กหรือโรงเรียนก็มีจุดมุ่ง หมายเดียวกัน แต่การเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลมีความแตกต่างจากโรงเรียน ประถม นี่คือวิธีการที่ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ ความสามารถในการอ่านเขียน(Literacy)           ความสามารถในการสื่อสารกับคนอื่นๆ การพูดและการฟัง การอ่านและการเขียน เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในโรงเรียนและในการดำเนิน ชีวิต   กิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนจะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาทักษะที่สำคัญนี้           ทักษะการฟังและการพูด  เด็กๆ ที่รู้คำศัพท์มากมักจะเป็นคนที่เรียนรู้การอ่านได้ไว เด็กๆ จะเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากการพูดคุยกับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องสอนให้รู้ว่าเด็กๆ เห็นอะไร สอนให้รู้จักชื่อของสิ่งที่เห็น อธิบายความหมายของคำใหม่ๆ ที่เด็กไม่รู้จัก ในระหว่างการสนทนาเด็กๆ จะเรียนรู้การฟังและความใจในสิ่งที่พูด ตลอดจนการอธิบายแสดงความคิดเห็น ใน โรงเรียนอนุบาล คุณพ่อคุณแม่จะได้ยินว่าคุณครูต้องพูดอ

Colors - UPDATED version - song for children